วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทที่ 11 การยศาสตร์


บทที่ 11 การยศาสตร์
(Ergonomics)

11.1 ความหมายของการยศาสตร์

การยศาสตร์(ergonomics) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก คือ "ergon" ที่หมายถึงงาน(work) และอีกคำหนึ่ง "nomos" ที่แปลว่า กฎตามธรรมชาติ(Natural Laws) เมื่อนำมารวมกันจำกลายเป็นคำว่า "ergonomics" หรือ "laws of work" ที่อาจแปลได้ว่ากฎของงาน ซึ่งเป็นศาสตร์ หรือวิชาการที่เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน หรือเป็นการปรับปรุงสภาพการทำงานอย่างเป็นระบบ ส่วนภายในประกอบด้วย
1.             มนุษย์
2.             Interaction ในการทำงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องจักร เป็นต้น
3.             สภาวะแวดล้อมในการทำงานในการทำงาน เช่น แสง สี เสียง ซึ่งเป็นหลักการยศาสตร์

11.2มาตรฐานและการออกแบบสถานีงานที่ใช้คอมพิวเตอร์

การวัดสัดส่วนร่างกายส้าหรับการออกแบบสถานีท้างาน การออกแบบสถานีงานต้องพิจารณาจากสัดส่วน
ร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความสบาย ความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บจากการท้างาน การใช้สัดส่วน
ร่างกายกับการออกแบบสถานีงานนั้น มีดังนี้
1. ความสูงจากระดับสะโพกขณะนั่งวัดขึ้นไปหาข้อศอก ใช้ในการออกแบบความสูงของที่พักแขน
2. ความสูงจากระดับเท้าขณะนั่งวัดขึ้นไปถึงต้นขา ใช้ในการออกแบบความสูงของเก้าอี้
3. ความยาวจากก้นขณะนั่งวัดไปถึงข้อพับด้านใน ใช้ในการออกแบบความลึกของเก้าอี้
4. ความกว้างของสะโพกในขณะที่นั่ง ใช้ในการออกแบบความกว้างของเก้าอี้


สถานีงานควรปรับได้ โดยสามารถปรับได้ตามความพอดีกับสรีระของผู้ใช้งาน โดยต้องคำนึงถึงท่าทางในการ
ทำงานโดยเอื้อต่อการท้างานของผู้ปฏิบัติงาน และสามารถบ้ารุงรักษาได้ง่าย
สถานีงานที่เหมาะสมแก่การท้างาน ควรประกอบด้วยปัจจัยดังนี้


1. เมื่ออยู่ในท่าท้างาน สามารถตั้งศีรษะได้ตรง
2. สายตาสามารถมองไปด้านหน้าได้สะดวก ขึ้นอยู่กับความสะดวกสบายในการปฏิบัติงานของ
ผู้ปฏิบัติงาน
3. กล้ามเนื้อไหล่ผ่อนคลาย ไม่ยกไหล่ ศอกทั้งสองข้างมีที่พักศอกโดยศอกท้ามุมประมาณ 90 องศา โต๊ะควรสูง
ระดับเดียวกันกับความสูงข้อศอกหรือต่ำกว่าความสูงข้อศอกเล็กน้อย
4.  มือทั้งสองข้างอยู่ในแนวเดียวกันกับแขน


11.3มาตรฐานและการออกแบบแสงสว่างในการทำงานกับคอมพิวเตอร์

การจัดแสงสว่างในการท้างานที่ไม่เหมาะสม อันได้แก่การที่จัดแสงสว่างน้อยเกินไป หรือมากเกินไป มาตรฐานและการออกแบบแสงสว่างในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ การจัดแสงสว่างในการท้างานที่ไม่เหมาะสม อันได้แก่การที่จัดแสงสว่างน้อยเกินไป หรือมากเกินไป โดยส่วนใหญ่ ปัญหาของแสงจะมาจากแสงจ้า (Glare) ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. แสงจ้าตาโดยตรง (Direct Glare) เกิดจากแหล่งก้าเนิดแสงสว่างจ้าในระยะลานสายตาที่ส่องผ่านหน้าต่าง หรือแสงจากดวงไฟ
            2. แสงจ้าจากการสะท้อน (Reflected glare) เกิดเมื่อแสงตกกระทบพื้นผิว เช่น วัตถุผิวมัน
ทั้งนี้ แต่ละองค์ประกอบที่กล่าวมา ยังขึ้นอยู่กับสีที่ใช้ด้วย ซึ่งถ้าหากว่าเป็นสีอ่อน เช่น สีขาว จะมีความสามารถในการสะท้อนแสงได้สูง ถ้าเป็นสีด้า จะไม่มีการสะท้อนแสงอุณหภูมิสีของห้องนั้น ยังส่งผลถึงอารมณ์ในการท้างานด้วย เช่น ห้องที่ใช้หลอดไฟชนิด Daylight นั้น จะท้าให้ผู้ที่อยู่ในห้องนั้นสดใส ร่าเริง เป็นธรรมชาติ ห้องที่ใช้หลอดไฟชนิด Cool White นั้น จะท้าให้ผู้ที่อยู่ในห้องสดชื่น มีชีวิตชีวา กระฉับกระเฉง และห้องที่ใช้หลอดไฟชนิด Warm White นั้น จะท้าให้ผู้ที่อยู่ในห้องเกิดความสงบ ผ่อนคลาย สุขุม และอ่อนโยน ดังนั้น การใช้หลอดไฟในห้องท้างานจึงสมควรที่จะใช้หลอดชนิด Daylight และ Cool White มากกว่าหลอดชนิด Warm White ซึ่งเหมาะส้าหรับใช้ในห้องนอนหรือห้องพักผ่อนมากกว่า



11.4 ปัญหาสุขภาพและการดูแลรักษาสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์


ผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากการท้างานกับคอมพิวเตอร์ จ้าแนกได้ดังนี้
1. ความล้าทางสายตา (Visual fatigue) หรือ Computer Vision Syndrome โดยมีปัจจัยที่ท้าให้เกิดปัญหาได้ ดังนี้
1. ความผิดปกติของผิวตา (Ocular-surface abnormalities) ได้แก่ นัยน์ตาแห้งไร้ความชุ่มชื้น (dry eye) เกิด
ได้จาก
1) สิ่งแวดล้อมในที่ท้างาน อาทิเช่น แสงสว่างที่มากเกินไป2) การกระพริบตาที่ลดลง จากปกติที่ประมาณ 16 ครั้ง/นาที ขณะที่ใช้สายตามองจอภาพ
คอมพิวเตอร์ จะมีการลดการกระพริบตาลงถึง 60% ก็คือจะกระพริบตาประมาณ 6-7 ครั้ง/นาที
3) พื้นที่ลูกตา
4) การใส่คอนแท็คเลนส์
2. การปรับโฟกัส (Accommodative spasms) เกิดได้จาก
1) แสงจากหลอดไฟและแสงจ้า
2) การกระพริบของหน้าจอ
3) ขนาดของตัวหนังสือ
3. การจัดวางคอมพิวเตอร์ (Ergonomic) เกิดได้จาก
1) ระยะห่างตากับจอภาพ
2) มุมของตากับจอภาพ
มีแนวทางแก้ไขดังนี้
1. สถานที่ท้างาน
ควรใช้จอแบนหรือจอ LCD เพื่อช่วยลดการสะท้อนแสง หลีกเลี่ยงการใช้จอโค้ง
2. แสงไฟ แหล่งก้าเนิดแสงสว่างไม่ควรอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ควรมาจากทางด้านข้างขอจอภาพ
3. การพักสายตา
ขณะท้างานควรมีการหยุดพักสายตาเป็นระยะ ๆ ไม่ควรใช้สายตาต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง
4. การปรับพฤติกรรมการใช้สายตา
4.1 การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา
4.2 ใช้การประคบด้วยน้ำอุ่นและน้ำเย็น ใช้ผ้าหรือ hot/cold pack
4.3 การบริหารกล้ามเนื้อตา
5. การใช้น้ำตาเทียม
2. กลุ่มอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ได้แก่ กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) มีลักษณะ
อาการดังนี้
- เป็นอาการปวดตามกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
-มักปวดเป็นบริเวณกว้าง ไม่สามารถระบุต้าแหน่งที่ปวดได้ชัดเจน
 -อาจปวดเพียงเล็กน้อยแล้วหายได้เองหรือปวดรุนแรงจนขยับไม่ได้ ส่วนใหญ่จะเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ไม่ถึงขั้นรุนแรง-กล้ามเนื้อจะแข็งเกร็งเป็นล้า
-พบจุดกดเจ็บชัดเจน
-เมื่อกดไปที่จุดกดเจ็บจะมีอาการปวดร้าวไปตามต้าแหน่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะของแต่ละกล้ามเนื้อ

ปัจจัยเสี่ยงที่ท้าให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ได้แก่
1. ท่านั่งท้างานที่ไม่เหมาะสม
2. ลักษณะงานที่ท้าให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่องนาน ๆ หรือมีการใช้กล้ามเนื้อท่าเดียวกันซ้ำ ๆ
3. กล้ามเนื้อมีการท้างานมากเกินไป
4. ขาดการออกก้าลังกายอย่างถูกต้องอาการที่แสดงของโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ได้แก่
 - มีอาการปวดร้าวลึก ๆ ของกล้ามเนื้อ โดยอาจปวดตลอดเวลาหรือเฉพาะเวลาท้างาน
- ความรุนแรงมีได้ตั้งแต่แค่เมื่อยล้าจนไปถึงปวดทรมาน ไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้
- อาจมีอาการชามือและขาร่วมด้วย หรือปวดศีรษะเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับร่วมด้วย
- มีอาการผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย เช่น ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังงอ คอคด ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน

แนวทางการรักษา
1. การใช้ความร้อน
2. การยืดกล้ามเนื้อ
สาเหตุของอาการปวดหลัง

- กล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง - หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับรากประสาท
- ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม - ช่องกระดูกสันหลังตีบแคบ
- ความไม่มั่นคงของข้อต่อ

อาการของโรคปวดหลัง

ปวดตื้อ ๆ ลึก ๆ ตามแนวของกระดูกสันหลัง ร้าวไปบั้นท้าย สะโพก มักไม่เลยเข่าลงไปกล้ามเนื้อสันหลังเกร็ง เจ็บปวด ไม่ขยับ ถ้าพักหรือทานยาแก้ปวดมักจะดีขึ้น แต่ถ้าขยับหรือท้างานจะปวดมากขึ้น

แนวทางแก้ไข ทำได้โดย

1. จัดสภาพแวดล้อมในการท้างานให้เหมาะสม ให้สามารถนั่งท้างานหลังตรง ที่นั่งมีการรองรับหลังส่วนล่าง สามารถยืดขาให้เข่าท้ามุมกว้างได้ไม่ต่ำกว่า 90 องศา
2. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลัง
เอ็นรัดข้อมืออักเสบทับเส้นประสาท (Carpal tunnel syndrome) สาเหตุมาจากการท้างานที่มีการกดทับหรือเสียดสี
บริเวณข้อมือบ่อย ๆ เป็นเวลานาน มีลักษณะอาการดังนี้
 -มีอาการเจ็บปวดบริเวณข้อมือด้านฝ่ามือ
 -ชาบริเวณฝ่ามือ นิ้วโป้ง หรือนิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางครึ่งนิ้ว
 -อาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบริเวณฐานนิ้วโป้ง

แนวทางแก้ไข ทำได้โดย

1. ใช้วัสดุที่มีลักษณะนิ่ม เช่น หมอนรองข้อมือ ที่รองข้อมือ
 2. ยืดเหยียดนิ้วมือโดยการก้ามือแน่น ๆ
3. เหยียดข้อมือโดยเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งมาด้านหน้า
4. เหยียดข้อมือโดยเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งมาด้านหน้า คว่ำฝ่ามือลง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น